หลักสูตรช่างฝีมืออาหารไทย รุ่น 187 (วันอาทิตย์) 96ชั่วโมง
อบรมตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม - 26 มิถุนายน 2565
โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไทยหลายท่าน อบรมในหัวข้อต่างๆ อาทิเช่น กระบวนการจัดการวัตถุดิบ การคํานวณต้นทุน และราคาอาหาร หลักการสุขาภิบาลการจัดการด้านธุรกิจร้านอาหาร การแกะสลักจัดตกแต่งอาหาร และเทคนิคการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ ณ ศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารนานาชาติ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีรายนามวิทยากรดังนี้
ครั้งที่ 1 วันที่ 27 มีนาคม 2565
รายวิชา : ภาษาอังกฤษสำหรับการครัว
รายละเอียดวิชา : การสื่อสาร ศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานครัว อาหาร ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งการนำเสนออาหาร โดยมีอาจารย์นิพัทธ์ชนก นาจพินิจ เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 2 วันที่ 3 เมษายน 2565
รายวิชา : ความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย
รายละเอียดวิชา : ลักษณะของอาหารไทย การแยกประเภทอาหาร อาหาร 4 ภาค การจัดรายการอาหารให้สอดคล้องกัน การประกอบอาหารคาว อาหารว่าง และอาหารหวาน เครื่องแกงประเภทต่างๆ สมุนไพรและเครื่องเทศ โดยมีอาจารย์ณัจยา เมฆราวี เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 3 วันที่ 10 เมษายน 2565
รายวิชา : การจัดการด้านธุรกิจร้านอาหารไทย
รายละเอียดวิชา : ประเภทของธุรกิจร้านอาหาร รูปแบบของการบริการ การจัดการและบริหารงานต่างๆ การควบคุมคุณภาพ การจัดซื้อ การกำหนดคุณลักษณะของวัตถุดิบและปริมาณ การตรวจรับ เก็บรักษาและเบิกจ่าย การคำนวณต้นทุน และราคาอาหาร โดยมี ผศ.ดร.นฤมล นันทรักษ์ เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 4 วันที่ 17 เมษายน 2565
รายวิชา : อาหารและหลักการประกอบอาหาร
รายละเอียดวิชา : การเตรียมวัตถุดิบก่อนการปรุง การชั่ง ตวง วัด ขั้นตอนการประกอบอาหาร การตัด หั่น แต่ง ผักผลไม้และเนื้อสัตว์การเก็บรักษาอาหารที่ปรุงแล้ว ตลอดจนวัตถุดิบต่างๆ โดยมี อาจารย์สมิตา มอร์เตโร เป็นวิทยากร
รายวิชา : การจัดการสุขาภิบาล
รายละเอียดวิชา : การจัดสุขาภิบาลอาหารทั้งในส่วนของผู้ประกอบอาหาร สถานที่ และเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การเก็บรักษาวัตถุดิบและอาหารที่ปรุงแล้ว โดยมี ดร.จันทร์จนา ศิริพันธ์วัฒนา เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 5 วันที่ 24 เมษายน 2565
รายวิชา : การแกะสลักผักและผลไม้
รายละเอียดวิชา : การแกะสลักผัก ผลไม้ต่างๆ และศิลปะในการจัดแต่งจานอาหารด้วยพืชผักผลไม้ โดยมี ผศ.ดร.แสงอรุณ เชื้อวงษ์บุญ เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 6 วันที่ 1 พฤษภาคม 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 1 ในเมนู ฉู่ฉี่กุ้ง แกงส้มผักรวม ไก่สะเต๊ะ โดยมี อาจารย์พงศ์อนันต์ ศิริแสงไพรวัลย์ เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 7 วันที่ 8 พฤษภาคม 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 2 ในเมนู ต้มข่าไก่ แกงป่า ผัดไทย ขนมกล้วย โดยมี อาจารย์นวลเพ็ญ ธรรมษา เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 8 วันที่ 22 พฤษภาคม 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 3 ในเมนู ต้มยำกุ้ง ถุงทอง แกงเผ็ดเป็ดย่าง หมี่กรอบ สาคูเปียกลำไย โดยมี ดร.พรดารา เขตต์ทองคำ เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 9 วันที่ 29 พฤษภาคม 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 4 ในเมนู กระทงทอง ส้มตำ แกงกะหรี่ ห่อหมก ทับทิมกรอบ โดยมี อาจารย์นพสิทธิ์ ภู่ทอง เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 10 วันที่ 5 มิถุนายน 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 5 ในเมนู ข้าวตังหน้าตั้ง ยำหมูย่าง แกงเขียวหวาน ผัดเปรี้ยวหวาน
ตะโก้แห้ว โดยมี อาจารย์นวลเพ็ญ ธรรมษา เป็นวิทยากร
ครั้งที่ 11 วันที่ 12 มิถุนายน 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 6 ในเมนู ยำวุ้นเส้น พะแนงหมู ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ้ว ทอดมัน
ไก่ผัดเม็ดมะม่วง โดยมี ผศ.ฉัตรชนก บุญไชย ป็นวิทยากร
ครั้งที่ 12 วันที่ 19 มิถุนายน 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 7 ในเมนู ข้าวผัดกระเพราะไก่ แกงเลียง ยำถั่วพู ล่าเตียง
สังขยาฟักทอง โดยมี อาจารย์จารุณี วิเทศ ป็นวิทยากร
ครั้งที่ 13 วันที่ 26 มิถุนายน 2565
ปฏิบัติครั้งที่ 8 ในเมนู ปอเปี๊ยะทอด แกงมัสมั่นไก่ ข้าวอบสับปะรด ปลาราดพริก
บัวลอย โดยมี ผศ.ดร.นฤมล นันทรักษ์ ป็นวิทยากร